สหประชาชาติเชิญชวนประเทศสมาชิกทั่วโลกหารือเพื่อใช้นโยบายรูปแบบใหม่ เผชิญ “วิกฤตมนุษย์”

Video

25 มีนาคม 2563 : เลขาธิการสหประชาชาติ เผย “วิกฤต COVID-19” นับเป็นวิกฤตร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งสหประชาชาติมา 75 ปี  และกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตนี้มากที่สุด คือ ผู้หญิง เด็ก 

และคนยากจน พร้อมชี้วิกฤตครั้งนี้จะทำให้คนตกงานทั่วโลกจำนวนมาก และกระทบเศรษฐกิจในหลายมิติ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกหาแนวทางฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจร่วมกันโดยใช้นโยบายที่ต่างจากที่เคยใช้มา และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
เพื่อร่วมกันบรรเทาผลกระทบและมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 ด้านนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เผยข้อมูล SDGs Trend แนวโน้มด้านความยั่งยืนที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ท่ามกลางวิกฤตสังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้เป็นความท้าทายใหม่ของธุรกิจในไทย ที่ต้องเตรียมรับมือสำหรับอนาคต หลังวิกฤต COVID-19

นายอันโทนิโอ กูเทเรส (Mr.Antonio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวจาก
สำนักงานใหญ่สหประชาชาติว่า การเผชิญกับ COVID-19 เป็นวิกฤตด้านสุขภาพระดับโลกที่ไม่เหมือนเหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์ 75 ปีของสหประชาชาติ และ”ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก” ซึ่งอาจมีผลกระทบมากกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ใกล้จะเกิดขึ้นจริงแล้ว ทั้งนี้ การรับมือระดับประเทศที่เห็นในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ซับซ้อนระดับโลกในครั้งนี้ได้ พร้อมเรียกร้องให้ทุกประเทศต่างตัดสินใจด้านนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน และประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกควรออกนโยบายรูปแบบใหม่หรือที่เรียกว่า “นวัตกรรมเชิงนโยบาย” เพื่อตอบสนองความท้าทายที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 อันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ “เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และไม่สามารถรับมือแบบที่ผ่านมาได้อีกต่อไป เราไม่สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบปกติในเวลาที่ผิดปกติเช่นนี้ ถ้าเราปล่อยให้ไวรัสแพร่กระจายเหมือนไฟป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีความเสี่ยงมากที่สุดของโลก มันจะฆ่าผู้คนนับล้านคน
นายกูเทเรส
กล่าว

 

เลขาธิการสหประชาชาติ ยังเน้นย้ำการลงมือทำใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การแก้ไขภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันผลกระทบทางสังคม  สอง คือ การตอบสนองทางเศรษฐกิจและการฟื้นฟู  และประการที่สาม คือ ความรับผิดชอบในการ “ฟื้นฟูให้ดีขึ้น” พร้อมทั้งสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ เปลี่ยนจากการแก้ปัญหาวิกฤตด้านสุขภาพครั้งนี้แบบต่างคนต่างทำให้เป็นการทำ “แผนยุทธศาสตร์ร่วม” ที่จะสร้างความมั่นใจจากทั่วโลกได้
กลยุทธ์เหล่านี้รวมถึง การสนับสนุนค่าจ้าง การทำประกัน การประกันสังคม การป้องกันการล้มละลายและ
การตกงาน พร้อมกับการออกนโยบายด้านการคลังและการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่มีกำลังจ่ายน้อยที่สุดกลับต้องมาแบกภาระ

จากข้อสังเกตที่ว่าเด็กกว่า 800 ล้านคน ไม่ได้เข้าเรียนในตอนนี้ เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวเสริมว่า
“เราต้องช่วยกันสร้างหลักประกันเพื่อให้มั่นใจว่า เด็กทุกคนสามารถได้รับอาหารและโอกาสในการศึกษา
อย่างเท่าเทียมกัน ลดช่องว่างทางดิจิทัล และลดต้นทุนในการใช้ระบบสื่อสารต่อกัน” และสรุปว่า “เรามีหน้าที่จะต้องช่วยกัน “ฟื้นฟูให้ดีกว่านี้” และให้แน่ใจว่า เมื่อพวกเราได้รับบทเรียนและตระหนักว่าวิกฤตครั้งนี้เป็น
จุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งเพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคตสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพเช่นนี้ รวมทั้ง
การลงทุนของภาครัฐในศตวรรษที่ 21 และการให้บริการแก่ประชาชนทั่วโลก”


ด้านสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หรือ Global Compact Network Thailand : GCNT  ได้เปิดเผยข้อมูล “5 SDGs Mega Trend 2020” ซึ่งจัดเป็นแนวโน้มสำคัญด้านความยั่งยืนที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมและสังคม  โดยชี้ว่าเป็นความท้าทายใหม่ของธุรกิจในไทยที่ต้องเตรียมรับมือสำหรับอนาคตหลังวิกฤต COVID-19

นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ในฐานะเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของ United Nations Global Compact มีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุนภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วน
ช่วยสร้างให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ใน 4 ด้านที่สำคัญ คือ สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม
และการต่อต้านการทุจริต พร้อมทั้งสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถร่วมส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs) ในระดับโลกภายในปี ค.ศ.2030 ได้ โดยได้จัดทำข้อมูล “5 แนวโน้มสำคัญปี 2563 เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ “5 SDGs Mega Trend 2020” ซึ่งเป็นแนวโน้มสำคัญด้านความยั่งยืนที่กำลังเกิดขึ้นในโลก เพื่อจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพลวัตและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กรธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนสู่
ความยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั่วโลก ดังกรณี COVID-19 ในปัจจุบันนี้

“การนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs มากำหนดเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์และเป้าหมายทางธุรกิจ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งแก่ธุรกิจในการรับมือกับภาวะวิกฤติ พร้อมทั้งสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับกิจการ นำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ผมเห็นว่า การบรรลุ SDGs เป็นทั้งความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ และที่สำคัญที่สุด ภารกิจนี้เป็นความรับผิดชอบของทุกคน” นายศุภชัย กล่าว


ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด SDGs Mega Trend 2020” และติดตามความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งคำแนะนำด้านความยั่งยืน ได้ทาง Website Global Compact Network Thailand http://www.globalcompact-th.com/



เกี่ยวกับ
GCNT

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ( Global Compact Network Thailand: GCNT) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งในไทย 15 บริษัท ปัจจุบันมีสมาชิก 50 บริษัท โดย GCNT ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของโครงการสำคัญของสหประชาชาติในระดับโลก กล่าวคือ UN Global Compact ซึ่งถือเป็นเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ด้วยการรณรงค์ให้บริษัททั่วโลกวางกลยุทธ์และยึดหลักการทำงานภายใต้หลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact แบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม การต่อต้านทุจริต ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของสังคม อาทิ การบรรลุสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (SDGs) รวมไปถึงข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)

…………………………………………………………………………………………………………………..

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ จณิน วัฒนปฤดา  สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย
Tel : 081 453 4997  E-mail : janin.wat@gmail.com, janin.wat@globalcompact-th.com

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้