การบริโภคที่รับผิดชอบ เพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

UNGCNT News
• คุณธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมขับเคลื่อนเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การบริโภคที่รับผิดชอบ เพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน” โดยมีนายอดิศร นุชดำรงค์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานในงาน
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่ากำลังจัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560-2579 เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 “สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน”
• กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นำโดย นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thai SCP Network) ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เป็นรูปธรรม
• ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานเครือข่าย Thai SCP นายกสมาคม SCP Association และผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เน้นความสำคัญ 3 ประการคือ การผลิต การบริโภคที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจหมุนเวียน

ที่มาไทยรัฐออนไลน์ : ทส. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ชู “การบริโภคที่รับผิดชอบ เพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน”

วันนี้ (15 ก.ย. 2563) โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กทม. นายอดิศร นุชดำรงค์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การบริโภคที่รับผิดชอบ เพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน” และการประชุมใหญ่ประจำปี 2563 ของเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thai SCP Network) และสมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SCP Association) ร่วมด้วย นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ชู การจัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการสร้างรูปแบบวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน และส่งเสริมความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ตามแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน ยก Social Movement กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนฯ

นายอดิศร นุชดำรง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดทำแผนขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560-2579 เพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 12 (SDG 12) “สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน” ซึ่งอยู่ระหว่างการทบทวน ปรับปรุงแผนฯ ให้สิ้นสุดในปี 2580 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่างเช่น เครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thai SCP Network) ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของประเทศ ทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยวและบริการ ตลาดทุน การศึกษาและวิจัย วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประชาสังคมและองค์กรเอกชน นโยบายและแผน การเผยแพร่สร้างความตระหนักและวิถีชีวิต การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ รวมทั้งด้านอื่นๆ เช่น ก๊าซเรือนกระจก (GHG) ชี้ให้เห็นว่า การผลิตและการบริโภค เกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมของมนุษย์ ส่งผลต่อทรัพยากร และเป็นภาระของโลกในการรับของเสียที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการตื่นตัวในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่รูปแบบการบริโภคทุกระดับในสังคมยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Social Movement หรือ Consumer Movement นับเป็นกลไกสำคัญหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเข็มทิศสู่วิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่นั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ด้าน นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้น ภายใต้หัวข้อ “การบริโภคที่รับผิดชอบ เพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน” เป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thai SCP Network) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการที่รับผิดชอบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในวิถีชีวิตของคนไทย สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยมี 6 องค์กร ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastic) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย และเครือข่ายเกษตรและอาหารปลอดภัย ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบเพื่อวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน”

ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานเครือข่าย Thai SCP นายกสมาคม SCP Association และผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า การประชุมในวันนี้มีขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 คือ การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการผลิต การบริโภคที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งต่างเป็นแนวคิดที่เชื่อมโยงกัน กล่าวคือ เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นเรื่องของการนำทรัพยากรมาใช้ให้น้อย นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก่อให้เกิดผลผลิตที่มีมูลค่าสูง ใช้ได้นาน และเกิดของเสียน้อย หรือถ้ามีของเสียก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ขยะพลาสติก ซึ่งทุกวันนี้ไทยรัฐประสบปัญหาขยะพลาสติกเป็นลำดับต้นๆ ของโลก หากเราสามารถนำพลาสติกที่ถูกทิ้งในแม่น้ำหรือในทะเลกลับมาเป็นวัตถุดิบใช้ใหม่ ก็จะเกิดประโยชน์ 3 ต่อ ต่อแรก คือ การลดการใช้ทรัพยากร ต่อที่ 2 คือ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และต่อที่ 3 คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

นอกจากนี้ ยังมีปาฐกถาพิเศษ และเวทีเสวนา โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก และระดับประเทศ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลบนสื่อสังคมออนไลน์ และ Startups ร่วมเป็นวิทยากร มีประเด็น “กลุ่มวิถีเกษตรและอาหารยั่งยืน” “กลุ่มวิถีชีวิตใหม่ ใส่ใจพลาสติกสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน” และ “กลุ่มวิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน” โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก Thai SCP Network ผู้สนใจจากภาครัฐ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ภาคการศึกษา และวิจัย ภาคการเงินการธนาคารและตลาดทุน ภาคประชาสังคม และผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งสิ้น 150 คน

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้