ได้ประโยชน์หลายสถาน เพราะการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน

Article

ในความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement มีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 28% ภายในปี 2030 โดยเปรียบเทียบจากปีฐาน 2016 และเพื่อให้บรรลุความตกลงดังกล่าวที่ต้องการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42% หากต้องการให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายความว่า ทั้งการตั้งเป้าหมาย รวมถึงกลยุทธ์ แนวทางการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ ของทุกภาคส่วน ควรต้องนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อพิสูจน์ถึงผลการดำเนินงานทั้งหลาย ที่มีส่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง ข้อมูลมีความโปร่งใส สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ รวมถึงสามารถตรวจสอบต้นทางของข้อมูลและมีหลักการอ้างอิงที่ชัดเจน

แนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือ Pathway to Net Zero: Guidelines and Success factors towards NZ โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นเครื่องมือและกลไกที่สนับสนุนจากภาครัฐโดยอิงตามแนวทางหลักวิทยาศาสตร์หรือ Science-based

เส้นทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตั้งเป้าหมายต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเองก่อนส่วนที่เหลือไม่เกิน 10% เมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซในปี 2020 โดยใช้ประเด็นเรื่องกลไกทางตลาด (Market Mechanism) ได้แก่ เรื่องคาร์บอนเครดิตที่เป็นผลมาจากการลดของคาร์บอนเครดิต (Reduction) เช่น การใช้โซล่าเซลล์ หรือใช้การกำจัด (Removal) เช่น การปลูกป่าชดเชย  การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint of Organization)  สนับสนุนการตั้งเป้าหมายโดยการอ้างอิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Target) หรือสนับสนุนการพัฒนาโครงการด้านความยั่งยืนที่สนับสนุนการดำเนินตามแนวทางสู่ Net Zero มาตรฐาน Standard T-VER และ Premium T-VER การลดต้นทุนให้กับหน่วยงานหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการสนับสนุนหน่วยงานที่ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถประเมินเรื่องของการลดก๊าซเรือนกระจกออกมาเป็นคาร์บอนเครดิตที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ถ่ายโอน หรือสามารถซื้อขายในตลาดได้

UNGCNT จึงชวนอ่านมุมมอง ประสบการณ์ขององค์กรชั้นนำกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
รวมถึงเทคนิคการเริ่มต้นการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรม เพิ่มประโยชน์และคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น เช่น ตัวชี้วัดและประเมินความสำเร็จขององค์กร การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย การเสริมความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดนักลงทุน


มิตซูบิชิ : ดำเนินการตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
(TCFD) คือ ความท้าทาย โอกาสและทางรอดของธุรกิจ

นางสาวอะกิโกะ อิชิอิ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านพลังงานและความยั่งยืน สถาบันวิจัยมิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงประสบการณ์การเปิดเผยข้อมูลและรายงานความยั่งยืนองค์กรในประเทศญี่ปุ่นว่า เรื่องนี้นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับหน่วยงานหรือภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่นหน่วยงานธุรกิจอาจไม่เข้าใจทำไมถึงต้องให้ความสำคัญเรื่องสภาพภูมิอากาศและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศดังนั้นต้องทำให้ผู้ประกอบการตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้นส่งผลกระทบกับทุกธุรกิจอย่างแน่นอน และเกิดประโยชน์กับบริษัทอย่างไรบ้าง

ความท้าทายประการต่อมาคือ แม้บริษัทจะเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลเรื่องสภาพภูมิอากาศ แต่ยังไม่รู้ข้อมูลสำคัญคืออะไร และต้องเปิดเผยข้อมูลอะไรบ้าง TCFD เป็นแนวทางการคาดการณ์สถานการณ์เรื่องของสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นบริษัทต้องคำนึงถึงข้อแนะนำของ TCFD และทำรายงานให้สอดคล้อง

อย่างไรก็ตามแม้จะมีกรอบการทำงานของ TCFD แต่การรายงานที่ต้องใช้ข้อมูลที่มีรายละเอียดและเชิงลึก การขาดทักษะความรู้ของบุคลกร จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่บริษัทต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นองค์กรจึงต้องเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงาน ในหลายกรณีโดยบริษัทจ้างที่ปรึกษาให้ข้อแนะนำ เพื่อจะดำเนินการตามกรอบการทำงานและข้อแนะนำของ TCFD ได้

“จริงๆ แล้วเราไม่ได้ทำรายงานเปิดเผยข้อมูลเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนหรือลูกค้า แต่การเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นให้เห็นแล้ว และจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้นจะต้องส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจและต้นทุนของการดำเนินธุรกิจของเราอย่างแน่นอน รวมถึงยังต้องคำนึงถึงแผนการของการเปลี่ยนผ่าน ในอนาคตถ้ามีกฎหมายที่เป็นข้อบังคับขึ้น แล้วเราไม่ได้ทำรายงานข้อมูลตรงนี้ หรือวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราจะได้รับความเสียหายหรือโดนค่าปรับ
ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูลตามข้อแนะนำของ
TCFD จึงสำคัญมาก และจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดอีกด้วย” - นางสาวอะกิโกะ อิชิอิ


มิตรผล : วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสเสริมขีดความสามารถการแข่งขัน 

นายวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล กล่าวถึงประสบการณ์การเปิดเผยข้อมูลและรายงานความยั่งยืนองค์กรว่า กลุ่มมิตรผลเริ่มทำ TCFD มาเกือบ 2 ปี เนื่องจากสถาบันการเงินทั้งไทยและต่างชาติที่บริษัททำธุรกรรมนั้นเริ่มสอบถามถึงเรื่อง TCFD และเนื่องจากองค์กรเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรอุตสาหกรรม มีความผันแปรจากสภาพดินฟ้าอากาศ โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายดูแลไร่ ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการโน้มน้าวผู้บริหารระดับสูงและพนักงานปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้ยอมรับ ดังนั้นต้องแสดงให้ถึงความสำคัญของการเกี่ยวข้องกับธุรกิจและต้องแสดงออกมาในเชิงปริมาณหรือตัวเลข โดยต้องคาดการณ์ไปข้างหน้าในระยะยาว 10-30 ปี แล้ววิเคราะห์ผลกระทบในสถานการณ์เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับจากผู้บริหารและสามารถดำเนินงานต่อไปได้

มิตรผลทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Climate-related Risks and Opportunities) ประกอบด้วย
  • ระบุความเสี่ยงและโอกาส (Identification of risks and opportunities) ได้แก่ 
    • Physical Risks ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ทำให้เกิดภาวะผลผลิตอ้อยทั้งประเทศลดลง 50%

      เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว ทำให้บริษัทไม่มีน้ำตาลส่งมอบให้ลูกค้าที่ทำการขายล่วงหน้าไปแล้ว จึงต้องซื้อจากคู่แข่งเพื่อส่งมอบให้ลูกค้า สร้างความเสียหายให้บริษัทเป็นจำนวนมาก 

    • Transition Risks การเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.อากาศสะอาด และ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    • Opportunities การผลิตไฟฟ้าชีวมวลที่เป็นพลังงานสะอาด ทำให้บริษัทมีคาร์บอนเครดิต (Carbon credit) ราว 9 แสนตัน/ปี

  • จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงและโอกาส (Prioritization of risks and opportunities)

  • วิเคราะห์สถานการณ์ (Scenario analysis) ซึ่งจะเห็นผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้น (Financial impact analysis) แล้วพัฒนาแผนบรรเทาผลกระทบและการปรับตัว (Developing mitigation & adaptation plans)

    • ผลกระทบโดยตรง (Direct Impact) พบว่าหากดำเนินการตามมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Initiative จากหย่อนไปเข้มงวด และเกิดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ในปี 2550 จะส่งผลกระทบเกือบพันล้านบาท แต่หากดำเนินการตามมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero Initiative) อย่างเข้มงวด ผลกระทบจะอยู่ในช่วง 200 ล้านบาท หรือต่ำกว่า 5 เท่า การเห็นตัวเลขเช่นนี้จะทำให้มองเห็นเรื่องการลงทุนและแผนงานในอนาคตได้

    • ผลกระทบโดยอ้อม (Indirect Impact) หากมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายหรือเข้มงวดมากขึ้น และราคาพลังงานที่ใช้จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งองค์กรจะได้รับผลกระทบในเชิงบวก เพราะดำเนินการ Net-Zero อยู่แล้ว

“การเปิดเผยข้อมูลและรายงานความยั่งยืนนั้นไม่ต้องทำแบบสุดโต่ง แต่องค์กรสามารถกำหนดขอบเขตได้ตามความพร้อม กลุ่มมิตรผลเริ่มทำเรื่องนี้กับธุรกิจในประเทศไทยก่อน แต่ปีนี้จะขยายไปทำที่จีน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และลาว เพราะค่อนข้างมีกำลังและมีความเข้าใจแล้ว และอยากให้มองเรื่องนี้เป็นโอกาส ปัจจุบันกลุ่มมิตรผลทำ CFP (Carbon Footprint Product) หลายตัว ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าและคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ช่วยเสริมขีดความสามารถการแข่งขันให้กับเรา ดังนั้นการทำเรื่องนี้แน่นอนว่ามีทั้งความวุ่นวาย ความท้าทาย แต่ก็ยังมีโอกาสด้วย” - นายวรวัฒน์ ศรียุกต์

กสิกรไทย : ข้อดี 6 ประการของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน

นายสันทัด ศรีจารุพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนองค์กร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนส่งผลดีต่อองค์กรใน 6 ประเด็น ดังนี้
  1. ช่วยให้สถาบันการเงินและองค์กรเห็นทัศนวิสัย (Visibility) และนำไปสู่นักลงทุนที่ให้ความสำคัญเรื่อง ESG โดยใช้กระบวนการประเมินประเด็นสาระสำคัญ มีการระบุประเด็นสาระสำคัญ ซึ่งจะช่วยชี้นำให้เห็นว่า ในประเด็นความยั่งยืนทั้งหมดที่มีในองค์กร อะไรสำคัญที่สุดกับสถาบันการเงินในกระบวนการประเมินประเด็นสาระสำคัญนี้ หนึ่งในผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้องคือนักลงทุน สะท้อนให้เห็นว่าองค์กรมีกระบวนการวิเคราะห์ประเด็นสาระสำคัญและเปิดเผยข้อมูลที่สอดคล้องกับความคาดหวังการเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง
  2. ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียง (Reputation) ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เกี่ยวข้องกับการทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยรวมในวงกว้าง เช่น การลงทุนเพื่อสังคม หรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ทำให้พนักงานรับรู้ว่าธนาคารไม่ได้มุ่งหาผลกำไรเพียงอย่างเดียว รวมถึงการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกที่เกี่ยวข้องกับองค์กร นอกจากเป็นเรื่องผลตอบแทนหลังจากการลงทุนหรือ financial return แล้ว ยังเป็นพลเมืององค์กรเพื่อสังคม ช่วยขับเคลื่อนสังคมในเชิงบวก สร้างผล กระทบที่ดีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. ช่วยให้องค์กรเห็นประเด็นที่จะขับเคลื่อนต่อไป ตัวอย่างจากกลุ่มมิตรผล ในเรื่องของการวิเคราะห์ความเสี่ยง หากองค์กรไม่สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ทั้งในแง่มุมของ Physical Risks หรือ Transition Risks ได้อาจนำไปสู่ผลกระทบระยะยาวต่อองค์กร เช่น ค่าปรับจำนวนมาก ซึ่งเป็นอีกแนวโน้นที่ชี้ให้เห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
  4. เป็นเครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและข้อมูลด้านอื่น ๆ หรือ Benchmarking analysis ซึ่งการทำ Benchmarking analysis อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เห็นว่าองค์กรได้ดำเนินงานอะไรไปแล้ว มีประเด็นใดที่ต้องปรับปรุง และนำไปเสนอผู้บริหารระดับสูงเพื่อขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ต่อไปได้
  5. สามารถนำ KPI ตัวชี้วัด ESG มาเป็นตัวชี้วัดสำหรับผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงได้
  6. ทำให้เห็น Value ที่เป็น Core value ขององค์กร สามารถนำความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนเข้ามาเป็นหนึ่งในประเด็นบอกเล่าเกี่ยวกับองค์กร นอกจากพูดถึงประเด็นด้านการเงิน

“ผมขอฝาก 3 ข้อ หนึ่ง อยากให้มองว่าการเปิดเผยข้อมูลเป็นปลายทางของการทำเรื่องความยั่งยืน ไม่อยากให้ทำเพราะอยากเปิดเผยข้อมูล เพราะถ้าไปดูประสบการณ์บริษัทที่ทำรายงานความยั่งยืน อาจจะ struggle เพราะอยากทำรายงานความยั่งยืน แต่ยังไม่เคยดำเนินงานที่เกี่ยวกับความยั่งยืนมาก่อนก็พยายามหาข้อมูลภายใน 1 ปี สุดท้ายจะไม่ได้รายงานความยั่งยืนที่สมบูรณ์แบบก่อนทำเรื่องนี้อาจลองตีสามเหลี่ยมDisclosure-Performance-Actionดูว่าเรามี Action อะไรที่ทำให้เกิด Performance แล้วจึงเปิดเผยข้อมูลได้ สอง เรื่องความยั่งยืน หลายคนอาจมองว่าควรเริ่มจาก Bottom up ส่วนผมมองว่าควรจะเป็น Tone from the top เพราะ massage ควรมาจาก management และ Board Director ก่อนว่าเราอยากทำเรื่องนี้จริงๆ นะ แล้วทรัพยากรทั้งเรื่องคน เงิน แรง จะตามมาเอง และสาม อยากให้เอาตัว KPI ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนไปตั้งเป็น KPI ของทุกคนในองค์กร” - นายสันทัด ศรีจารุพฤกษ์

ไทยยูเนี่ยน : ให้ความรู้และทรัพยากร เพื่อพัฒนาศักยภาพห่วงโซ่อุปทานสู่ความยั่งยืน
นายปราชญ์ เกิดไพโรจน์ ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน ภูมิภาคเอเชียบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงประสบการณ์การสร้างการมีส่วนร่วมและการทำรายงานความยั่งยืน ในฐานะธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ซับซ้อนว่า การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน คู่ค้าต่างๆ ไม่ใช่แค่การขอข้อมูล เพื่อให้สามารถเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนได้ แต่ต้องให้ความรู้และทรัพยากรกับห่วงโซ่อุปทานด้วย
 
ยกตัวอย่างเราไม่สามารถบอกให้ฟาร์มกุ้งซึ่งเป็นคู่ค้าของไทยยูเนี่ยนวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่อกุ้ง1กิโลกรัมได้ปริมาณเท่าไรหรือถ้าสามารถวัดได้ระดับความน่าเชื่อถือในข้อมูลมีหรือไม่ และสุดท้ายจะได้รับการยอมรับจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO หรือไม่ รวมทั้งลูกค้าที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ที่ไทยยูเนี่ยนทำการค้ามีเป้าหมายเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก ต้องการข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)  
 
ดังนั้น ไทยยูเนี่ยนต้องให้การสนับสนุนอย่างมากจากคู่ค้า โดยการขอให้เก็บบิลค่าไฟการใช้พลังงานในฟาร์ม ไปทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Industry Partner) ในการสร้างอุปกรณ์ที่จะช่วยวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการเลี้ยงกุ้งในฟาร์มต่อ1 กิโลกรัม ควรรวบรวบข้อมูลด้านใดบ้าง เช่น อาหารกุ้งมาจากโรงงานผลิตอาหารที่ไหน ส่วนผสมของอาหารกุ้งมาจากไหน ดังนั้นอยากจะแสดงให้เห็นภาพของการขอความร่วมมือซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีโครงการต่อยอดสร้างมูลค่าให้คู่ค้า เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำเรื่องความยั่งยืน
 
ไทยยูเนี่ยนทำงานเรื่องการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนองค์กรอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2016 ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน SEACHANGE ลูกค้าและนักลงทุนอาจให้ความสำคัญถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลความยั่งยืน ไทยยูเนี่ยนจึงต้องเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานต่างๆ เช่น GRI, Carbon Disclosure Project (CDP), TCFD ซึ่งผลที่ได้รับคือ ความเชื่อใจมากขึ้นจากลูกค้า ทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สามารถนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูล และพูดถึงความท้าทาย ไม่ได้พูดถึงเฉพาะความสำเร็จเพียงอย่างเดียว
 
“ผมขอให้ข้อคิด 2 ข้อ ข้อแรก ถ้าไม่ทำ สุดท้ายแล้วเราจะโดนบีบให้ต้องทำ หรือถ้าคุณไม่ได้โดนบีบให้ทำโดยตรง แต่ถ้าคุณอยู่ใน Supply Chain ของบริษัทที่ทำเรื่อง TCFD สุดท้ายคุณต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนี่คือเทรนด์ของโลก เป็นกฎหมายทั้งในและนอกประเทศ ข้อ 2 ต่อให้จะทำหรือไม่ทำ TCFD แนะนำให้ทำความเข้าใจเรื่องของความเสี่ยง ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น หนึ่ง Know your customer คุณขายของให้ใคร ลูกค้ารายใหญ่ๆ ให้ความสนใจเรื่อง Climate Change มากขนาดไหน กฎหมายที่ลูกค้ารายใหญ่ต้องโดน สุดท้ายจะกลับมากระทบกับคุณอย่างไรในฐานะเป็นคู่ค้า สอง Know your supplier ต้องรู้ว่า Supply Chain ของคุณเป็นใคร คู่ค้าของคุณเป็นใคร คู่ค้าของคู่ค้าคุณเป็นใคร เพราะถ้าคุณไม่สามารถเห็นหน้าตาของ Supply Chain ยากมากที่จะวัด Carbon footprint สโคป 3 คือห่วงโซ่อุปทาน และไม่ว่าจะขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนประเด็นไหน ต้องทำความเข้าใจ Supply Chain อย่างไทยยูเนี่ยนต้องสืบไปให้ได้ว่ามาจากเรือประมงลำไหน จากฟาร์มไหน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ” - นายปราชญ์ เกิดไพโรจน์
 
ข้อมูล: งานสัมมนา Enhancing Corporate Sustainability Management Policies and Practice, Panel Discussion: Enhancing corporate sustainability disclosure and increasing corporate value วันที่ 11 ก.ค. 2567 ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ จัดโดย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย







 









 

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้