เซฟงบฯ ประเทศ พร้อมเซฟใจตัวเอง แบบธรรมชาติช่วย 20-5-3 สูตรสำเร็จจากธรรมชาติ เพื่อสุขภาพ (จิต) ที่ดีขึ้น

Article

เรื่องโดย: วนบุษป์ ยุพเกษตร

ใบสั่งยาให้ออกไปหาธรรมชาติ (Prescribing Nature) ที่แพทย์ชาวสก็อตแลนด์จ่ายให้คนไข้ คือเครื่องย้ำเตือนว่าแม้แต่วงการแพทย์ก็แน่แก่ใจแล้วว่าธรรมชาติสามารถช่วยให้อาการป่วยดีขึ้นได้ และใครก็รู้ดีว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิต แต่ก็ยากที่จะประเมินว่าลดได้มากแค่ไหน 

จากปกติที่เราไม่สามารถวัดได้ว่าธรรมชาติมีผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างไร แต่ตอนนี้มีตัวเลขมาพิสูจน์ให้เห็นแล้ว โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 มีผลวิจัยจาก Forest Research สำนักวิจัยการป่าไม้ของอังกฤษที่สามารถประเมินงบประมาณที่ป่าไม้ช่วยเซฟระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service, NHS) ของอังกฤษได้ ผ่านจำนวนการเข้าโรงพยาบาล จำนวนใบสั่งยา และค่าจ้างงานของผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ลดลง 


©Nate Johnston/Unsplash

แม้ว่าการขยายพื้นที่สีเขียวจะเป็นไปเพื่อการต่อสู้กับสภาวะโลกรวน (Climate Change) และปัญหาสภาพการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเป็นหลัก แต่ตัวเลขจากการวิจัยนี้ก็ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของป่าไม้มากกว่าที่เคย เมื่อโควิด-19 มาเยือน ก็ยิ่งสะท้อนว่าพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ยังไม่เพียงพอ เพราะสุขภาพจิตของผู้คนย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากไม่มีพื้นที่ให้ปลดปล่อยความเครียดเหล่านั้น

ทางหน่วยงาน NHS จึงต้องเพิ่มงบประมาณสำหรับค่ารักษาเรื่องสุขภาพจิตโดยเฉพาะ รวมถึงเตรียมสั่งจ่ายยาเป็นกิจกรรมทางสังคม หรือที่เรียกว่า Green Social Prescribing ที่ระบุให้คนไข้ออกไปเยี่ยมชมธรรมชาติ ซึ่งผลในงานวิจัยก็สรุปออกมาได้ว่า กว่า 90% ของกลุ่มตัวอย่างมีความเครียดลดลงเมื่อได้ใช้เวลาในพื้นที่สีเขียว

“ถ้าคนออกไปใช้เวลากับต้นไม้สัก 30 นาทีต่อสัปดาห์ ไม่ว่าจะเดินเล่น นั่งเฉย ๆ หรือทำสมาธิ ก็สามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เลย” วาดิม ซารีฟ (Vadim Saraev) นักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยของ Forest Research กล่าว ก่อนเสริมต่อว่า “คุณจะรู้สึกดีกว่าการใช้เวลา 30 นาทีนั้นไปกับโซเชียลมีเดียแน่นอน” เพราะ 30 นาทีที่ว่าจะช่วยลดอัตราโดยรวมของภาวะซึมเศร้าได้ถึงร้อยละ 7 

เมื่ออาการซึมเศร้า และความวิตกกังวลลดลง ก็ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการต้องไปรักษากับจิตแพทย์ลดลงตามไปด้วย ซึ่งโรงพยาบาลก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้เช่นเดียวกัน โดยงานวิจัยของวาดิมได้คำนวณค่ารักษาแบบปกติของ NHS และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของเจ้าหน้าที่ในแต่ละวันที่หายไป พบว่าธรรมชาติช่วยเซฟงบประมาณของภาครัฐในการรักษาด้านสุขภาพจิตไปถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว


©Doug Robichaud/Unsplash

ประมาณ 8 พันล้านบาท คืองบประมาณด้านสุขภาพจิตที่ประหยัดลงไปได้ต่อปี วาดิมบอกว่าจริง ๆ ป่าไม้มีคุณค่าและมีสิทธิ์มีเสียงในชีวิตของมัน แต่การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจก็มีเป้าหมายล้อไปกับผู้ออกนโยบาย “คิดดูว่าถ้าต้นไม้ไม่มีมูลค่าเป็นตัวเลขให้เห็น มันย่อมไม่ถูกรับเอาไว้พิจารณา” ขณะที่หลายคนยังมองว่าธรรมชาติไม่จำเป็นในชีวิต และเป็นเพียงองค์ประกอบของความสะดวกสบายที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่ความจริงกลับตรงกันข้าม เพราะมนุษย์ทุกคนต่างต้องการธรรมชาติทั้งสิ้น

“ถึงในฤดูหนาว เราจะรู้สึกเหมือนต้องจำศีลอยู่กับบ้าน แต่การออกไปกลางแจ้งและรับแสงแดดสักหน่อยก็จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์เต็ม ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ” สตีเฟน บัคลีย์ (Stephen Buckley) แห่งไมด์ องค์การการกุศลทางสุขภาพจิตบอกแบบนั้น


©Appolinary Kalashnikova/Unsplash

แม้บ้านเราจะยังไม่จริงจังถึงขั้นมีใบสั่งยาให้ไปหาธรรมชาติจากแพทย์ แต่เราเองก็สามารถเซฟใจตัวเองได้ง่าย ๆ เพียงแค่พาตัวเองไปที่สวนสาธารณะ ป่าเขา ทะเล หรือแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ ใกล้บ้าน แล้วลองฝึกให้เป็นนิสัย หากไม่มีจริง ๆ สวนในบ้านหรือการปลูกไม้กระถางในคอนโดก็ยังพอช่วยได้ เท่านี้ก็เท่ากับได้ลดความเสี่ยงในการประสบปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นได้แล้ว

ส่วนโปรเจ็กต์การเพิ่มพื้นที่สีเขียวล่าสุดอย่างสวนป่าเบญจกิติ ที่เกิดขึ้นโดยทีมงานภูมิสถาปนิกมือดีจากอาศรมศิลป์ ก็ถือเป็นเรื่องน่าดีใจสำหรับชาวกรุงเทพฯ ที่ไม่ใช่แค่จะช่วยเยียวยาจิตใจ แต่ยังช่วยกู้บ้านเมืองจากภัยพิบัติธรรมชาติอย่างน้ำท่วมที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองหลวงแห่งนี้ได้อีกด้วย

20-5-3 สูตรสำเร็จจากธรรมชาติ เพื่อสุขภาพ (จิต) ที่ดีขึ้น

มาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงพอจะจินตนาการได้คร่าว ๆ แล้วว่า ธรรมชาติช่วยเยียวยาสุขภาพจิตแน่ ๆ แล้ว แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเท่าไรถึงจะพอ เราจึงขอชวนทุกคนมาดูพีระมิดธรรมชาติ (Nature Pyramid) จาก เรเชล ฮ็อปแมน (Rachel Hopman) นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น ที่แนะนำระยะเวลาที่ควรใช้ในธรรมชาติเพื่อลดความเครียดและมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะถ้ายิ่งสภาพแวดล้อมโดยรอบมีความเป็นป่ามากเท่าไร ก็จะยิ่งมีประโยชน์มากเท่านั้น

  • 20 นาที คือช่วงเวลาที่ควรออกไปหาพื้นที่สีเขียว เช่น สวนสาธารณะ สัก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (โดยไม่เล่นโทรศัพท์เลยนะ)
  • 5 ชั่วโมง คือระยะเวลาขั้นต่ำที่ควรใช้ในพื้นที่กึ่งป่าในแต่ละเดือน เช่น อุทยาน
  • 3 วัน ต่อปี ควรออกไปใช้ชีวิตท่ามกลางป่าเขา ไม่ว่าจะไปแคมปิง หรือเช่ากระต๊อบหลังเล็ก ๆ ก็ได้


จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกหนึ่งงานวิจัยที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย ก็คืองานวิจัยโดย ดร. แมทธิว พี. ไวต์ (Dr. Mathew P. White) ที่เผยแพร่ในปี 2019 เขาบอกว่า “2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ดูจะเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้จริงสำหรับหลาย ๆ คน แต่ก็สามารถเฉลี่ยไปทั้งสัปดาห์ได้เพื่อให้ยังได้รับประโยชน์อยู่”

ใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านวิจัยฉบับเต็มได้ทาง forestresearch.gov.uk/documents/8217/FRRP034.pdf

ที่มา : 
บทความ “Woodland walks save UK £185m a year in mental health costs, report finds” (ธันวาคม 2021) จาก theguardian.com
บทความ “Green spaces aren’t just for nature – they boost our mental health too” (มีนาคม 2021) โดย Kate Douglas และ Joe Douglas จาก newscientist.com 
บทความ “The '20-5-3' Rule Prescribes How Much Time to Spend Outside” (มิถุนายน 2021) โดย MICHAEL EASTER จาก menshealth.com


ที่มา : https://bit.ly/3tMztvt 
ขอขอบคุณ www.creativethailand.org

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้