ไทยถอดบทเรียน Seafood Task Force ในเวทีสหประชาชาติ - ผลงานเด่นที่สหภาพยุโรปยกเลิกใบเหลืองในกรณี IUU

Thailand's Hot Issues
ไทยถอดบทเรียน Seafood Task Force ในเวทีสหประชาชาติ ผลงานเด่นจากที่สหภาพยุโรปยกเลิกใบเหลืองในกรณี IUU
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็คแห่งประเทศไทย (GCNT) โดยผู้แทน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ร่วมนำเสนอประสบการณ์เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทานภายใต้ Seafood Taskforce

ในการประชุมเรื่อง Multi stakeholders initiatives promoted by States to drive business respect for human rights - effectiveness and lessons learned ว่าด้วยความสำคัญของการร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการส่งเสริมการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 62 ณ สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา



ดร. เนติธร ประดิษฐ์สาร รองเลขาธิการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็คแห่งประเทศไทย (GCNT) และผู้แทนเครือเจริญโภคภัณฑ์​ ได้กล่าวถึงบทบาทของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ว่าได้ร่วมก่อตั้ง Seafood Task Force ซึ่งมีผลงานโดดเด่น ช่วยให้สหภาพยุโรปยกเลิกใบเหลืองในกรณี IUU ของไทยในที่สุด และย้ำว่า ถึงแม้ว่า CPF ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงโดยตรง แต่ด้วยความเป็นผู้นำในด้านธุรกิจเกษตร-อาหาร และความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน CPF จึงได้ร่วมขับเคลื่อน Seafood Task Force ตั้งแต่ต้น

“ปัจจัยความสำเร็จของ Seafood Task Force มีสามด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1. ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพราะทั้งผู้ผลิตอาหารสัตว์ ลูกค้าในต่างประเทศ ห้างค้าปลีกในต่างประเทศ ภาคประชาสังคม ตลอดจนภาครัฐ ต่างมาร่วมกันหาทางออก และภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคเอกชน ได้เสริมการทำงานของภาครัฐ อาทิ การใช้เครื่องติดตามเรือ (Vessel Monitoring System - VMS) ร่วมกับกรมประมงของไทย หรือการจัดตั้งศูนย์ Fisherman’s Livelihood Enhancement Center หรือ FLEC โดย CPF ที่จังหวัดสงขลา 2. การดำเนินงานที่สอดคล้องกัน จากการที่มีผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเกิดการประสานเชิงนโยบายอย่างแท้จริง 3. เน้นการขยายผล โดย Seafood Task Force ถือกำเนิดจาก Shrimp Task Force และได้ขยายขอบเขตเพื่อครอบคลุมอุตสาหกรรมประมง ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 50 องค์กร จากทุกภาคส่วน และจะขยายรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะนี้ไปยังประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน อาทิ เวียดนาม” ดร. เนติธร กล่าว

จากนั้นนาย Dante Pesce สมาชิกคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในฐานะประธานการประชุม กล่าวชื่นชมความตั้งใจจริงของทางบริษัทและของไทย โดยขอให้เป็นตัวอย่างในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการดำเนินงานต่ออุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้