ซื้ออย่างไรให้ยั่งยืน? มองหา Circular Mark ฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน

Article



จะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ใด ของแบรนด์ใดบ้าง ที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน?

คำถามสำคัญของเหล่าผู้บริโภค เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เป็นการซื้อที่สนับสนุนสินค้าซึ่งผู้ผลิตมีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นการส่งเสริมการนำทรัพยากรกลับมาใช้ซ้ำในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดปริมาณขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หนึ่งในคำตอบคือ ระบบรับรองฉลากสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน ด้วยการมองหาโลโก้ฉลาก Circular Mark ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือการตลาดในการบ่งชี้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียน

หากคุณเป็น “ผู้ผลิต” เราอยากให้คุณลองศึกษาข้อกำหนดของฉลาก Circular Mark เพราะนับจากนี้ผู้บริโภคจะยิ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหากสินค้าได้รับฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียน แน่นอนว่าจะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยผลักดันสินค้า สร้างโอกาสทางการตลาดไปสู่กลุ่มผู้ซื้อขนาดใหญ่ และแข็งแกร่งขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเราสรุปสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เบื้องต้นไว้ในโพสนี้

ขณะเดียวกัน หากคุณเป็น “ผู้บริโภค” เราชวนคุณเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นเล็ก ที่ร่วมกันต่อเติมภาพใหญ่ของสิ่งแวดล้อมอันยั่งยืน ด้วยการเลือกซื้อข้าวของที่ทำให้โลกดีขึ้น เพราะทุกน้ำใจในการสนับสนุนของเรา ต่อเติมกำลังใจและการคงอยู่ต่อไปของธุรกิจที่จัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทุกคุณค่าและมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการหมุนเวียน ล้วนซ่อนอยู่ในต้นทุนที่ผู้ประกอบการแบกรับอยู่

ช็อปปิ้งครั้งต่อไป มองหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายรับรอง Circular Mark ฉลากเล็กๆ ที่จะส่งแรงกระเพื่อมสู่โลกใบใหญ่แห่งระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน


Who?

ใครขอรับ Circular Mark ได้บ้าง? บริษัทหรือธุรกิจที่ต้องการขอรับรองฉลาก Circular Mark สำหรับการันตีความเป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนให้แก่สินค้าใดๆ จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการตรวจประมินความสอดคล้องตามข้อกำหนดในประเด็นที่ครอบคลุมปัญหาการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง การเกิดขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ตลอดจนการออกแบบเพื่อการหมุนเวียน มุ่งเป้าไปที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ครอบคลุมกระบวนการผลิตที่ส่งเสริมการหมุนเวียนในระบบเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการใช้งานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อการหมุนเวียนวัสดุ หรือ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม ลดปริมาณขยะ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Circular Mark ประกอบไปด้วยกลุ่มเกษตร-อาหาร กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กล่อมพลาสติก กลุ่มบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มแฟชั่น-ไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B ระหว่างผู้ค้ากับหน่วยธุรกิจเช่นกัน หรือ B2C ระหว่างผู้ค้ากับผู้บริโภค

ในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์จำนวน 376 ผลิตภัณฑ์ จาก 30 บริษัท ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนติดฉลาก Circular Mark เป็นกลุ่มแรกของไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยฉลาก Circular Mark มีอายุการรับรอง 3 ปี


What?

Circular Mark ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เรื่อง “การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำาหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน อันเป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนวัสดุเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย”

โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการของภาครัฐ คือศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (วีกรีน) คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมี “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน” (PPP Plastics) ร่วมสนับสนุนทุนบางส่วน

       ระบบฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียนนี้ จะกลายเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน และผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนของไทยให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อสินค้าใดผ่านการพิจารณา ข้อมูลของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตั้งแต่กระบวนการผลิต ไปจนถึงคำแนะนำการใช้งาน ตลอดจนวิธีจัดการหลังหมดอายุการใช้งาน ผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนติดฉลาก CIRCULAR MARK” จะได้รับการลงทะเบียนแบบอัตโนมัติในฐานข้อมูลต่อไปนี้เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า



How?

       Circular Mark พัฒนาขึ้นครั้งแรกในภูมิภาคและโลก โดยประเทศไทย โดยนอกจากจะมีพื้นฐานบนแนวคิดผลกระทบทุกมิติตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Thinking) และแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Resource Use Efficiency and Value Added) แล้ว ยังมีแนวคิดการหมุนเวียน 12 ประการ เช่น การลดการใช้ (Reduce) การซ่อมแซม (Repair) การปรับปรุง (Recondition) และการรีไซเคิล (Recycle) อีกด้วย

ในภาพใหญ่ ระบบรับรองและฉลาก Circular Mark ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนนโยบาย BCG in Action ของระดับชาติของไทยให้มีการดำเนินการ มุ่งเป้าเพิ่มปริมาณวัสดุหมุนเวียนกลับสู่ระบบเศรษฐกิจ และลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังต้องเกิดการสร้างาน สร้างเงิน จากการส่งเสริมการตลาดด้วยฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียนอีกด้วย

     หลังจากนี้ ระบบรับรองและฉลาก Circular Mark จะถูกนำไปต่อยอด พัฒนาเป็น ระบบรับรองและมาตรฐานระดับชาติ โดยมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ กระทรวงอุตสาหหกรรม (สมอ. และ กพร.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ บพข. เพื่อให้ระบบรับรองฉลากผลิตภัณฑ์หมุนเวียนเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป

#GCNT #GlobalCompactNetworkThailand #CircularMark

#CallToAction
#ไม่ทำไม่ได้แล้ว
#aNewEraOfAction


ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้