สหภาพยุโรปผ่านข้อกำหนด CSDDD ด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม กับผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย

Article


เดือนที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ผ่านข้อกำหนดสำคัญอย่าง
Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทต่างๆ รับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด โดยข้อกำหนดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของ EU Green Deal ซึ่งเป็นแผนงานที่ครอบคลุมเพื่อทำให้เศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีความยั่งยืนและเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศภายในปี 2050

ในบทความนี้ เราชวนทำความเข้าใจผลกระทบของข้อกำหนด CSDDD ต่อผู้ประกอบการไทย และการปรับตัวตามให้ทันต่อข้อกำหนดใหม่ๆ ในอนาคต


01 ภาคเอกชนต้องทำอะไรบ้าง?

ข้อกำหนด CSDDD กำหนดให้บริษัทขนาดใหญ่ดำเนินการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานของตนอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อระบุและแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น การบังคับใช้แรงงาน ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ


  • ตรวจสอบความเสี่ยง บริษัทต่างๆ ต้องมองหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหรือสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของตน รวมไปถึงการตรวจสอบซัพพลายเออร์และพันธมิตร เพื่อให้แน่ใจว่าทุกส่วนปฏิบัติตามกฎ
  • แก้ไขปัญหา หากบริษัทพบความเสี่ยงใดๆ พวกเขาจะต้องวางแผนแก้ไข ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อแก้ปัญหา
  • แบ่งปันข้อมูล บริษัทต่างๆ ต้องเปิดใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อแก้ไขปัญหา โดยอาจเผยแพร่รายงานหรือแบ่งปันข้อมูลออนไลน์
  • รับฟังข้อกังวล บริษัทจำเป็นต้องมีช่องทางให้พนักงานและคนอื่นๆ แจ้งข้อกังวล โดยต้องจัดการกับข้อกังวลดังกล่าวอย่างทันท่วงทีและปฏิบัติตามกฎหมายความเป็นส่วนตัว
  • ตรวจสอบทุกคน บริษัทต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์และพันธมิตรของตนปฏิบัติตามกฎด้วย หากไม่ทำบริษัทอาจประสบปัญหาได้

นอกจากนี้ บริษัทยังต้องเตรียมพร้อมสำหรับปัญหาที่ไม่คาดคิด เช่น ปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานหรือเหตุฉุกเฉิน โดยหากละเมิดการปฏิบัติตามกฎ บริษัทอาจถูกปรับหรือถูกลงโทษอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กร 

โดยบริษัทต่างๆ จะต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อป้องกันและจัดการกับผลกระทบด้านลบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของตน รวมถึงการพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น และรับรองว่าพันธมิตรทางธุรกิจโดยตรงตกลงที่จะปฏิบัติตามแผนเหล่านี้


02 บริษัทไทยอยู่ตรงไหนของสมการ?

ข้อกำหนด CDDDD ได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กฎระเบียบของสหภาพยุโรปสอดคล้องกับมาตรฐานสากลในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น แนวปฏิบัติของ องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) สำหรับวิสาหกิจข้ามชาติ 

โดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปแต่ละประเทศจะแต่งตั้งหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด CDDDD ของบริษัท และทำงานร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลของยุโรป โดยอำนาจดำเนินการสอบสวนและกำหนดบทลงโทษสำหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด รวมถึงค่าปรับสูงสุด 5 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการซื้อขายสุทธิทั่วโลกของบริษัท

จากการถกเถียงและเจรจาเกี่ยวกับขอบเขตและการบังคับใช้ข้อกำหนด CSDDD ท้ายที่สุด มีการตัดสินใจว่าจะถูกนำไปใช้กับ 

  • บริษัทในสหภาพยุโรป ที่มีรายได้สุทธิทั่วโลกเกินกว่า 450 ล้านยูโร (416 ล้านดอลลาร์) และมีการจ้างงานมากกว่า 1,000 คน อย่างไรก็ตามการดำเนินการจะค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและขยายไปยังบริษัทขนาดเล็ก
  • บริษัทนอกสหภาพยุโรป ที่มีรายได้ 450 ล้านยูโรในสหภาพยุโรป โดยไม่มีเกณฑ์จำนวนพนักงาน

นับจากนี้ หลังจากรัฐสภายุโรปให้การอนุมัติขั้นสุดท้าย แต่ละประเทศในสหภาพยุโรปจะมีเวลา 2 ปีในการเปลี่ยนข้อกำหนด CDDDD เป็นกฎหมายระดับชาติ จากนั้นบริษัทต่างๆ จะมีเวลา 3 ถึง 5 ปี นับจากการมีผลบังคับใช้ของข้อกำหนด ในการปฏิบัติตามขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท


03 UN Global Compact จะช่วยคุณได้อย่างไร?

สัปดาห์ที่ผ่านมา UN Global Compact ได้จัดการประชุม ‘UN Global Compact: Catalyst for EU Corporate Sustainability and Competitiveness’ เกี่ยวกับการเร่งปฏิกิริยาในการสร้างความยั่งยืนและความสามารถทางการแข่งขันของบริษัทในสหภาพยุโรปขึ้นที่รัฐสภายุโรปในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม รับชมการประชุมเต็มได้ ที่นี่ 

การประชุมประกอบไปด้วยสมาชิกรัฐสภายุโรป ตัวแทนคณะกรรมาธิการยุโรป บริษัทและผู้นำจาก UN Global Compact Networks ในยุโรป เพื่อหาวิธีที่ UN Global Compact และเครือข่ายท้องถิ่นจะสามารถช่วยสถาบันและประเทศสหภาพยุโรปในการสนับสนุนบริษัทต่างๆ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่อย่าง CSDDD หรือ Corporate Sustainability Reporting Directive (CSRD) 

UN Global Compact ต้องการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ให้ไม่เพียงแค่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเท่านั้น แต่ยังต้องการช่วยให้การดำเนินธุรกิจดีขึ้น สร้างผลกระทบเชิงบวก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้นด้วย 

โดย UN Global Compact มีเครื่องมือและทรัพยากรที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริงในโลกและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น


  • UN Global Compact Academy แพลตฟอร์มเรียนรู้ด้านความยั่งยืนเกี่ยวกับภาคเอกชนที่นักธุรกิจมากกว่า 100,000 คน เข้าร่วมในแต่ละปี
  • Peer Learning แพลตฟอร์มแบ่งปันผลลัพธ์ ความสำเร็จและข้อควรเรียนรู้จากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทต่างๆ ในภูมิภาค
  • Business Accelerators โปรแกรมช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ให้มุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน การดำเนินการด้านสภาพอากาศ ความเท่าเทียมทางเพศ และนวัตกรรมเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • Think Labs โครงการที่ผู้นำจากพื้นที่ต่างๆ มารวมตัวกัน เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาสำคัญด้านความยั่งยืน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ข้อกำหนด CSDDD ไม่เพียงมีผลบังคับใช้ต่อบริษัทในสหภาพยุโรป แต่ยังมีผลกระทบต่อบริษัทต่างชาติรวมถึงภาคเอกชนของไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานรวมถึงมีรายได้ในสหภาพยุโรปด้วย 

และไม่เพียงแค่ข้อกำหนด CSDDD เท่านั้น บนเส้นทางสู่ความยั่งยืนและเป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศภายในปี 2050 ของเศรษฐกิจแห่งสหภาพยุโรป จะมีข้อกำหนดและข้อบังคับอื่นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ EU Green Deal ตามมาอีกมากมาย 

ดังนั้นคุณต้องศึกษาระเบียบข้อบังคับ สร้างกลไกรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงทำให้แน่ใจว่าบริษัทของคุณรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ไม่ละเมิดกติกาสากล ซึ่งจะทำให้มีแต้มต่อทางการแข่งขันในอนาคตอย่างชัดเจน

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้