สัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 (BBHR WEEK)

Event
30 May 2022 9.00 AM - 2 Jun 2022 12.30 PM


โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย ผนึกกำลังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ UNDP

และ AICHR จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยมาตรการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน”

ภายใต้กิจกรรมสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ประจำปี ๒๕๖๕

(Bangkok Business and Human Rights Week 2022)

วันจันทร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐

 

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Thai Representative to ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดกิจกรรมสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ประจำปี ๒๕๖๕ หวังขับเคลื่อนทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจกันจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานและสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

 

คุณเทอดเกียรติ พร้อมมูล อุปนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงาน

องค์กรภาคธุรกิจ นอกจากจะมีบทบาทหน้าที่ในการประกอบกิจการของตนเองเพื่อสร้างผลกำไรตอบแทนแก่เจ้าของกิจการ สร้างรายได้แก่บุคลากรของกิจการ ด้วยการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคมแล้ว ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ หนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบดังกล่าว คือ การป้องกันมิให้การดำเนินกิจการของตนเอง สร้างผลร้ายต่อบุคคลใดก็ตามที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรธุรกิจนั้น รวมไปถึงผลกระทบจากกิจกรรมอื่นๆ ที่แม้จะไม่ได้กระทำการโดยองค์กรธุรกิจนั้นก็ตาม แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่องค์กรธุรกิจนั้นนำไปจัดจำหน่ายหรือนำไปเป็นวัตถุดิบ

การสร้างผลร้ายต่อผู้ได้รับผลกระทบนี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีตามธรรมชาติ มีความเป็นสากลและได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือกติกา อนุสัญญา ข้อตกลงต่างๆ ระหว่างระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศต่างๆ ให้การรับรอง

ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาคธุรกิจมีความคาดหวังที่ชัดเจนยิ่งขึ้นให้องค์กรธุรกิจเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงินและนักลงทุน ผู้บริโภค นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ล้วนแต่แสดงความต้องการให้ภาคธุรกิจนำแนวคิดและมาตรการ
ด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติ ความต้องการนี้อาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น การออกกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ไปถึงคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เกณฑ์การพิจารณาของสถาบันลงทุนหรือเจ้าของเงินกู้ การกำหนดเกณฑ์การจัดอันดับผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ (เช่น DJSI, FTSE Russell’s ESG Rating) และมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูล (เช่น มาตรฐาน GRI มาตรฐาน One-Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.))

ในประเทศไทย กระทรวงยุติธรรม ได้เผยแพร่แผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ส่งเสริมให้ภาครัฐคุ้มครองและภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการพิจารณาการเยียวยาแก่ผู้เสียหายร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกัน มีหลักฐานปรากฏให้เห็นชัดเจนว่าองค์กรธุรกิจที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนไม่เพียงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรตนได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนยังเป็นโอกาสทางธุรกิจ (business case) สามารถสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในพื้นที่ของการดำเนินธุรกิจและตลอดห่วงโซ่คุณค่า ดังนั้น ธุรกิจสามารถใช้กระแสที่เกิดขึ้นนี้ เป็นโอกาสทางธุรกิจได้เช่นกัน

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย มีพันธกิจส่งเสริมให้องค์กรภาคธุรกิจในประเทศไทย ทั้งที่เป็นสมาชิก และไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคม ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN SDGs) 17 ประการ โดยมียุทธศาสตร์สร้างความร่วมมือ เพิ่มการตระหนักรู้และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในภาคธุรกิจไทย สมาคมฯ จึงมีความตั้งใจพัฒนาหลักสูตร “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ภาคปฏิบัติ” นี้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และพันธมิตรจากหลายภาคส่วน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพในการนำหลักการและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีไปดำเนินการให้เกิดผลได้จริง

ในสถานการณ์ที่องค์กรและพนักงานอยุ่ใน ช่วงฟื้นตัวจาก โควิด-19 โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งนี้ เอกชนไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้ประเทศสามารถก้าวผ่านระยะการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยคำนึงถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ซึ่งภาคธุรกิจขนาดใหญ่สามารถเป็นต้นแบบการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชนให้กับภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กได้ อีกทั้งภาคธุรกิจของประเทศไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจในภูมิภาค สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศต่าง ๆ เพื่อยืนยันบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำเรื่องนี้ในระดับภูมิภาค  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยในระดับระหว่างประเทศอีกด้วย

มีความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแรงงานในไทย รวมทั้งประเด็นที่อาจถูกมองข้าม อาทิ สุขภาพจิตของแรงงานที่ยังอยู่ในองค์กรและแรงงานที่ต้องพ้นสภาพ ขณะเดียวกัน ในการส่งเสริมประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้เป็น “เรื่องง่าย” ที่ธุรกิจทั้งบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถ “เข้าถึง” “เข้าใจ” และ “นำไปปฏิบัติจริง” เกิดผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอกรอบการดำเนินงานสำหรับรัฐบาลและภาคธุรกิจ โดยภาครัฐมีหน้าที่ปกป้องประชาชนจากผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้ที่เปราะบางและด้อยโอกาส อาทิ แรงงานนอกระบบ  แรงงานข้ามชาติ หรือผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือทางสังคมน้อย ในขณะที่ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน แม้อยู่ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุข เพราะการตรวจสอบรอบด้านในเชิงสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับองค์กรต่างๆ ในการระบุความเสี่ยง เพื่อทำให้สามารถหลีกเลี่ยงและลดผลกระทบต่อแรงงาน  ซึ่งองค์กรสมาชิกของสมาคม ได้สร้างเครื่องมือประเมินตัวเองที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจในการพิจารณาและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากโควิด-19  และเพื่อขับเคลื่อนแผนการฟื้นฟูนี้ ภาคธุรกิจจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ และสร้างอนาคตที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน  การส่งเสริมคุณภาพของสังคม การคุ้มครองแรงงานตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน วิกฤตการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ สร้างความปกติใหม่ หรือ New normal บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

            การสร้างภูมิคุ้มกันในอนาคตควรมีเรื่องของการพัฒนาและเพิ่มทักษะแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่เรื่องโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือในยุคดิจิทัล (digital disruption) ที่จะทำให้การทำงานในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมด้านชีวภาพ (Bio Economy) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยต้องมีการวางแผนฟื้นฟูให้มีการสนับสนุนสินค้าไทย เน้นการพัฒนาความมั่นคงของอุปทาน (Supply Security) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรและอาหาร สนับสนุนด้านการจ้างงาน การจ้างผู้สูงอายุ สนับสนุนมาตรการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และส่งเสริมให้การพัฒนาแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ

สมาคมจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเครื่องมือสำหรับภาคธุรกิจ ที่จะช่วยให้สามารถประเมินศักยภาพขององค์กร ได้รับคำแนะนำในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการฟื้นฟูและการสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การเจรจาทางสังคม หรือ Social dialogue ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐ นายจ้าง และลูกจ้างในประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายทางสังคม พร้อมกับกำหนดทางเลือกร่วมกัน โดยบริษัทอาจใช้มาตรการต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการพยายามลดต้นทุนทางสังคม และลดผลกระทบต่อแรงงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเลิกจ้าง และรักษาระดับค่าจ้าง ตลอดจนการติดตามประเมินผล โดยจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายและแนวปฏิบัติต่างๆ  โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของแรงงาน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมความโปร่งใส ความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เกื้อหนุนต่อปรับเปลี่ยนให้เกิดผลได้

สุดท้ายนี้ผมขออำนวยพรให้การจัดงานสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนประจำปี 2565

BBHR WEEKสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Bangkok Business and Human Rights Week: BBHR Week) ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามความคาดหวังทุกประการ

 



DOWNLOAD DOCUMENTS
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบงานสัมมนา
GCNT Members
สมาชิก GCNT กรุณา Login เพื่อ Download เอกสาร
Non Members
สำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และสนใจ Download เอกสาร กรุณากรอกข้อมูล
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้